คำถามที่พบบ่อยสำหรับ AED (เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ)
การกระตุกหัวใจในที่สาธารณะโดยใช้ AED: คำถามที่พบบ่อยs
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลับคืออะไร
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลับมักจะหมายถึงภาวะที่หัวใจหยุดเต้นอย่างกระทันหันและไม่ได้คาดคิด โดยมักจะเกิดขึ้นจากจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติซึ่งเรียกว่า ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว (VF)
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลับเหมือนหัวใจวายหรือไม่
ไม่เหมือน หัวใจวายเป็นภาวะที่เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างกระทันหัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยหัวใจวายมัก (แต่ไม่เสมอไป) พบกับอาการเจ็บหน้าอกโดยมักจะยังรู้สึกตัวอยู่ หัวใจวายนั้นรุนแรงและในบางครั้งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลับได้ แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลับอาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากหัวใจวายและปราศจากสัญญาณเตือน ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลับอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ใครมีความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลับ
อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลับอยู่ที่ประมาณ 65 ปี แต่อย่างไรก้ตามภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลับนั้นไม่มีความแน่นอนเพราะสามารถเกิดกับใครก็ได้ ที่ใดก็ได้ และเมื่อใดก็ได้
ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวคืออะไร
ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวคือจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติโดยมักพบร่วมในภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลับ จังหวะที่ผิดปกตินี้เกิดจากทำงานของคลื่นหัวใจที่มีความถี่ผิดปกติและเร็วมาก ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวนั้นไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนและซับซ้อน หัวใจสั่นและไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวจะมีอาการไม่นานและจะรุนแรงขึ้นทำให้หัวใจหยุดนิ่ง (กราฟชีพจรเป็นเส้นตรง) หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวมีวิธีการรักษาอย่างไร
วิธีรักษาภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวเดียวที่มีประสิทธิภาพคือการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าที่เรียกว่าการกระตุกหัวใจ การกระตุกหัวใจคือการใช้คลื่นไฟฟ้าไปกระตุ้นบริเวณหน้าอก คลื่นไฟฟ้าจะผ่านหัวใจเพื่อเข้าไปยับยั้งภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวและทำให้ระบบคลื่นหัวใจกลับมาทำงานดังเดิม คลื่นดังกล่าวช่วยให้คลื่นหัวใจกลับมาทำงานดังเดิมทำให้หัวใจสามารถกลับมาสูบฉีดเลือดได้อีกครั้ง เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติสามารถกระตุกการทำงานของหัวใจได้
AED คืออะไร
เครื่อง AED (เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ) เป็นเครื่องมือที่วิเคราะห์และหาจังหวะการกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า แนะนำผู้ที่ทำงานช่วยชีวิตถึงสิ่งจำเป็นสำหรับการกระตุกหัวใจและการทำการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเมื่อจำเป็น
ฉันจะทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บหรือไม่เมื่อใช้ AED
เมื่อใช้งานกับผู้คนที่ไม่มีการตอนสนองและไม่หายใจ องค์การอาหารและยาพบว่าเครื่อง AED ทุกเครื่องในท้องตลาดสหรัฐอเมริกาปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นโอกาสการทำให้ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองและไม่หายใจบาดเจ็บนั้นถูกหักล้างด้วยโอกาสในการช่วยชีวิตผู้ป่วยมากกว่า
ฉันต้องทำอย่างไรหากลืมขั้นตอนการใช้งาน AED
ขั้นตอนการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนั้นง่ายและไม่ซับซ้อน ZOLL® AED Plus® มีวิธีการใช้งานทั้งภาพและเสียงคอยแนะนำให้คุณตลอดการทำการช่วยชีวิต ส่วนที่ยากที่สุดคือการตระหนักว่าต้องใช้การกระตุกหัวใจเมื่อใด
ฉันควรทำ CPR ก่อนหรือใช้อิเล็กโทรดจาก AED ก่อน
ทำ CPR ทันที เมื่อ AED พร้อมใช้งาน แนบแผ่นอิเล็กโทรดไปที่หน้าอกเปลือยของผู้ป่วย และทำตามข้อความและขั้นตอนเสียงจาก AED เครื่องจะบอกว่าคุณต้องทำ CPR อีกครั้งเมื่อใด
หากการกระตุกหัวใจเป็นเรื่องสำคัญมาก ทำไมฉันยังต้องทำ CPR
CPR ช่วยในการหมุนเวียนของเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจนให้ไปหล่อเลี้ยงหัวใจและสมองของผู้ป่วย การหมุนเวียนนี้ทำให้สมองและกล้ามเนื้อหัวใจตายช้าลง CPR ยังทำให้หัวใจมีแนวโน้มตอบสมองต่อการกระตุกหัวใจมากขึ้น
ฉันจะถูกฟ้องจากการใช้ AED หรือไม่
การถูกฟ้องในสหรัฐอเมริกาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม รัฐส่วนใหญ่ได้อนุมัติกฎหมาย "Good Samaritan" ซึ่งปกป้องผู้กู้ชีพที่ไม่มีประสบการณ์จากการฟ้องคดี
ฉันมีโอกาสกระตุ้นตัวเองหรือผู้ที่ทำการช่วยชีวิตด้วย AED โดยไม่ตั้งใจได้หรือไม่
AED ปลอดภัยเป็นอย่างมากเมื่อใช้งานอย่างถูกต้อง การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าด้วยกระแสไฟฟ้าออกแบบให้เริ่มส่งกระแสไฟฟ้าจากแผ่นอิเล็กโทรดหนึ่งไปยังอีกแผ่นผ่านหน้าอกของผู้ป่วย ข้อควรระวังทั่วไป เช่น การบอกให้ผู้อื่นยื่นออกห่าง ๆ และตรวจดูบริเวณนั้นทั้งก่อนหน้าและระหว่างทำการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า จะสามารถทำให้ผู้ที่ทำการช่วยชีวิตปลอดภัยสูงสุด
ฉันต้องทำอย่างไรหากผู้ป่วยมีแผ่นปิดในบริเวณที่ฉันจะแนบแผ่นอิเล็กโทรด
ห้ามแปะแผ่นอิเล็กโทรด AED ไปที่แผ่นปิดใด ๆ โดยตรงเช่น แผ่นปิดประเภทไนโตรกลีเซอรีน ควรนำแผ่นปิดออกและทำความสะอาดผิวให้แห้งก่อนแปะแผ่นอิเล็กโทรดลงบนผิว
ฉันต้องนำแผ่นอิเล็กโทรดออกก่อนทำ CPR หรือไม่
ไม่ต้อง อิเล็กโทรดจะยังคงอยู่ที่เดิมตลอดการช่วยชีวิตจนกระทั้งผู้ป่วยถึงมือถึงผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่เชี่ยวขาญเช่น แพทย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน หากแปะแผ่นอิเล็กโทรดลงบนตำแหน่งที่ถูกต้องบนหน้าอกของผู้ป่วย เครื่องจะไม่ขัดขวางการวางมือหรือกดปั๊มหัวใจที่ถูกต้อง
หากผู้ป่วยใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจหรือกำลังตั้งครรภ์ฉันควรใช้ AED หรือไม่
ใช้ได้ ควรใช้ AED กับผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
ฉันสามารถกระตุกหัวใจบนพื้นผิวที่เปียกได้หรือไม่
ได้ ตราบเท่าที่ได้ตรวจสอบตามข้อปฏิบัติความปลอดภัยทั่วไปแล้ว แต่ต้องมั่นใจว่าหน้าอกของผู้ป่วยถูกเช็ดให้แห้งแล้ว เก็บแผ่นอิเล็กโทรดออกห่างจากพื้นผิวที่เปียกชื้นหรือเป็นสื่อกระแสไฟฟ้า
ฉันสามารถกระตุกหัวใจบนหรือใกล้พื้นผิวโลหะได้หรือไม่
ได้ ตราบเท่าที่ได้ตรวจสอบตามข้อปฏิบัติความปลอดภัยทั่วไปแล้ว เก็บแผ่นอิเล็กโทรดออกห่างหรือสัมผัสกับพื้นผิวที่มีสื่อกระแสไฟฟ้า ต้องมั่นใจว่าไม่มีใครกำลังสัมผัสตัวผู้ป่วยอยู่เมื่อทำการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
ควรถอดเสื้อผ้าของผู้ป่วยออกมากน้อยเพียงใดเพื่อให้การกระตุกหัวใจมีประสิทธิภาพ
หน้าอกควรโล่งเปลือยเพื่อใช้ในการวางแผ่นอิเล็กโทรดแบบใช้แล้วทิ้ง ควรถอดยกทรงของผู้ป่วยเพศหญิงออก เสื้อผ้าบางชิ้นอาจต้องตัดออก
ทำไมจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องมั่นใจว่าแผ่นอิเล็กโทรดแนบชิดกับหน้าอกที่แห้งและสะอาด
การกระตุกไฟฟ้าที่ประสบผลสำเร็จต้องให้กระแสไฟฟ้าคลื่นที่ผ่านจากแผ่นอิเล็กโทรดหนึ่งไปยังอีกแผ่นหนึ่งผ่านหน้าอก หากแผ่นอิเล็กโทรดไม่แนบชิดและมีเหงื่อหรือโลหะที่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าระหว่างแผ่นอิเล็กโทรด กระแสไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะไหลตัดผ่านหน้าอกมากกว่าไหลผ่านหน้าอก ซึ่งจะส่งผลให้การกระตุกหัวใจไม่มีประสิทธิภาพและมีโอกาสเกิดรปะกายไฟและไฟไหม้มากขั้น
สามารถวางแผ่นอิเล็กโทรดไปบนหน้าอกที่มีขนโดยตรงได้หรือไม่
แผ่นอิเล็กโทรดจะต้องสัมผัสผิวหนังโดยตรง หากมีขนหน้าอกมาก ต้องโกนออกอย่างเร่งด่วนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ขนติดกับแผ่นอิเล็กโทรด
ฉันควรทำอย่างไรหากมีผู้ป่วยที่เป็นเด็ก
คุณต้องใช้แผ่นอิเล็กโทรดสำหรับเด็กซึ่งมีกระแสไฟฟ้าในระดับที่ต่ำกว่าเพื่อใช้กับเด็กที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หากไม่มีแผ่นอิเล็กโทรดสำหรับเด็ก ไกด์ไลน์แนะนำให้ใช้แผ่นอิเล็กโทรดสำหรับผู้ใหญ่
หลังจากทำการกระตุกหัวใจผู้ป่วยสำเร็จแล้ว ยังต้องวางแผ่นอิเล็กโทรดไว้ที่เดิมหรือไม่
วางไว้ที่เดิม แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการกระตุกหัวใจสำเร็จแล้ว เขาหรือเธอมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวได้อีก AED จะคอยดูอาการของผู้ป่วยอยู่เสมอ ๆ หากมีอาการภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวอีกครั้ง หากคาดว่ามีภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว AED จะเริ่มวิเคราะห์ผู้ป่วยโดยอัตโนมัติเมื่อครบ 2 นาทีหลังจากการทำ CPR เสร็จสิ้น AED ควรหยุดใช้ได้เมื่อผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเห็นว่าสมควร
ฉันต้องทำอย่างไรหากชีพจรของผู้ป่วยกลับมาแต่ผู้ป่วยกลับไม่หายใจหรือหายใจแผ่วเบา
คุณควรทำการผายปอดด้วยอัตรา 1 ครั้งต่อ 5 วินาที หรือ 12 ครั้งต่อนาที
ฉันใช้ AED กับผุ้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน และเครื่องมักเตือนว่า "ไม่ควรกระตุ้นด้วยไฟฟ้า" แม้ทำ CPR แล้ว ผู้ป่วยก็ยังคงไม่รอดชีวิต ทำไมยังต้องกระตุ้นด้วยไฟฟ้าผู้ป่วยด้วย AED อีก
ถึงแม้ว่าภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวมักพบได้บ่อยในภาวะหัวใจหยุดเต้น แต่ก็ไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวที่ก่อให้เกิดภาวะนี้ AED ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นด้วยไฟฟ้าภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว หรือภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วซึ่งจะอ่อนล้าจากจังหวะการเต้นของหัวใจที่เร็ว ยังมีจังหวะการเต้นของหัวใจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันที่ไม่ต้องรักษาโดยการกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า ข้อความแจ้งเตือนที่ว่า "ไม่ควรกระตุ้นด้วยไฟฟ้า" ไม่ได้หมายความว่าจังหวะการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติแล้ว
ฉันกระตุ้นด้วยไฟฟ้าผู้หญิงที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ไม่กี่นาทีให้หลังอาการของเธอก็ทรุดลง และหลังจากนั้นไม่นานเธอก็เสียชีวิต ฉันทำอะไรผิดไปหรือเปล่า
โชคไม่ดีที่ปัญหาทางด้านสุขภาพหรือปัญหาเกี่ยวกับหัวใจอื่น ๆ ทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันที่มีอาการภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวไม่สามารถรอดชีวิตได้แม้จะมีการทำการกระตุกหัวใจที่ถูกต้องและทันท่วงที
หากฉันไม่ทำตามขั้นตอนของการทำ CPR และการกระตุกหัวใจครบทุกขั้นตอน
การรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมีความตรึงเครียดเป็นอย่างมาก แม้ผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์ยังทำทุกอย่างได้ไม่สมบูรณ์แบบเลย ในภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน มีเพียงการทำ CPR และการใช้ AED เป็นแนวทางเดียวเท่านั้นที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยได้
หากฉันไม่มั่นใจว่าต้องใช้ AED หรือไม่
โปรดจำกฎข้อนี้: ใช้ AED กับผู้ป่วยที่คุณทำ CPR แล้วไม่มีการตอบสนองและไม่หายใจ